วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 2

                         บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   28 สิงหาคม  2557





หมายเหตุ   วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไปดำเนินเรื่อง กยศ.

  • ความรู้ที่ได้รับ
 เด็กปฐมวัย 
1.พฤติกรรม = พัฒนาการ
2.การเรียนรู้ หรือ การเล่น
3.การอบรมเลี้ยงดู 
สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้                                       
  ความคิด ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
การใช้ภาษา
พัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษาสามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
  พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
·   การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง การรับรู้ การซึมซับ
·   การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
·   การรับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใมจกับสิ่งรอบตัว ความพยายามติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด้กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นสรุป วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก
  • จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
  • ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก
  • ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก

งานที่ได้รับมอหมาย

บทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           
บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสาร สสวท. กับวิชาการดอทคอม
ที่มา : นิตยสาร สสวท.
www.ipst.ac.th

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 
          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546  และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 
          อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต  หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้างและจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู     พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
          สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศ เช่น หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา   หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล   อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัย แพทย์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.  มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 
          เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น    ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”
          ขณะนี้  สสวท. ได้ทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรผ่านทุกกระบวนการที่สำคัญหมดแล้ว ก็คือผ่าน การประชาพิจารณ์ การนำไปทดลองใช้ การปรับแล้วนำไปทดลอง และวิจัยผลการใช้  ในส่วนของการทดลองใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย    สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ   ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง  จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน  และทดลองใช้ในปี 2551  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น