วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recent Posts 10


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี  23  ตุลาคม  2557

*** วันนี้ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากต้องทำงาน


วันนี้อาจารย์นัดเรียนชดเชยเนื่องจากอาทิตย์หน้าวันปิยมหาราช

ความรู้ที่ได้รับ


การเขียนแผนการสอน

1.ขั้นนำ

        ในการเขียนแผนขั้นนำเราสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การเล่านิทาน   เพลง   คำคล้อง ในครั้งนำเช่นเลือกการร้องเพลงคือร้องเพลงเสร็จต้องตั้งคำถามเพื่อเชื่อมโยงความรู้เมื่อเด็กตอบเสร็จก้อนำภาพที่เราเตรียมไว้ขึ้นมาโชว์และถามเด็กเด็กรู้จักอะไรนอกเหนือจากภาพที่เราโชว์ให้ดูบ้างและเขียนเป็น map

2.ขั้นสอน

เสริมประสบการณ์กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

3.ขั้นสรุป
- ด้านคณิตศาสต์

 1.การนับและบอกจำนวน
2.แทนด้วยสัญลักษณ์

- ด้านภาษา

1.การตอบคำถาม
2.การวาดภาพ
3.วาดและเล่าเรื่องจากภาพที่ตนเองวาดได้
4.ร้องเพลง  เล่านิทาน  คำคล้องจอง

-วิทยาศาสตร์

1.การสังเกต
2.การรวบรวมข้อมูล
3.การทดลอง

กลุ่มของดิฉันเรื่องนม

วันที่1    ชนิดของนม

วันที่2    ลักษณะของนม

วันที่3    ประโยชน์ของนม

วันที่4   ที่มาของนม

วันที่5  การแปรรูอของนม

เขียนแผนทั้ง 5 วัน ส่งวันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557


วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recent Posts 9


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   16 ตุลาคม  2557



      วันนี้มีการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์

สื่อของดิฉันชื่อ "ลูกข่างหลากสี" 
 


วัสดุ/อุปกรณ์ (Materials)
- แผ่นซีดีเก่าๆ
- ลูกปิงปอง
- กระดาษ A4
- สี
- ฝาน้ำ
- กาว

ขั้นตอนการทำ(steps)
> นำกระดาษมาวางที่พื้นและนำแผ่นซีดีมาวางบนกระดาษ A4 จากนั้นวาดเป็นวงกลม
> ตัดวงกลมที่วาดออก และน้ำมาตกแต่งตามใจชอบ
> นำกระดาษมาทาด้วยกาวและติดลงบนแผ่นซีดี
> ติดฝาขวดด้านบนลานสี
> ติดลูกปิงปองด้านล่าง
วิธีการเล่น (How to play)
> นำลูกข่างมาางที่พื้นเรียบ
> หมุนลูกข่างแล้วปล่อยให้หมุน
> ให้เด็กสังเกตสีของลูกข่าง
สรุป(Summary)
ตาของเราไ่ม่สามารถสังเกตที่ซีกล้อรถ หรือลานบนลูกข่างที่กำลังหมุนได้ เนื่องจากการเปลี่ยนภาพและสีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเราจึงเห็นสีบนลูกข่าง เป็นสีผสมเพราะตาของเราไม่สามารถแยกแยะสีได้ เมื่อหมุนลูกข่าง สีเขียว แดง เร็วๆตาของเราจะเห็นเป็นสีเหลือง เป็นต้น ....
ตาของเรามองเห็นสีต่าง ๆ เนื่องจากเซลล์รับสีในตาของเรา ที่ไวต่อแสงสีสามสีหลักได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียว ถูกกระตุ้นถ้าีมีสีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตาของเราไม่สามารถแยกสีต่างๆจึงเห็นสีต่างๆ ผสมเป็นสีเดียว ......
สื่อของเพื่อนๆ
- ไก่กระต๊าก - กล้องส่องทางไกล - ลูกข่างหรรษา
- ขวดผิวปาก - กล่องลูกโป่ง - นาฬิกาน้ำ
- กระป๋องโยกเยก - หลอดหมุนได้ - เสียงโป๊ะ
- ดินสอกังหันลม - ตุ๊กตาล้มลุก - ปืนลูกโป่ง
- หลอดปั๊มน้ำ - ลุกปิงปองหมุน - หนูน้อยกระโดดร่ม
- ไหมพรหมเต้นระบำ - เรือลอยน้ำ - ขวดหนังสติ๊ก
- เหวี่ยงมหาสนุก - รถพลังลม - คลื่นทะเลในขวด
- รถแข่ง - แท่งยิงลูกบอลจากไ้ไอติม - เครื่องล่อนวงแหวน
- หนังสติ๊กหรรษา - หลอดเสียงสูงต่ำ - โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก
- ลานหรรษา - แม่เหล็กตกปลา - เชียร์ลีดเดอร์
การประเมิน
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีการประดิษฐ์สื่อที่หลากหลาย และเรื่องใกล้กันทำให้สอดคล้องและทำให้ได้ความรู้ต่าง ๆ ากมาย สาารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคต
ประเมินตนเอง มีความพร้อมในการนำเสนอผลงาน แต่งตัวเรียร้อย เข้าเรียนตามเวลา
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แทรกเนื้อหาในแต่ละสื่อได้ และถามคำถามให้นักศึกษาได้ตอบและคิด บางเรื่องที่สอดคล้องกันอาจารย์ก็บอกทำให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recent Posts 8


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   9 ตุลาคม  2557

                                       
                                                 สอบกลางภาค





วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recent Posts 7


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   2 ตุลาคม  2557



ความรู้ที่ได้รับ (the knowledge that receive)

          วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์มาทำสื่อการสอนของวิชาวิทยาศาสตร์
สื่อวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ดิฉันตั้งชื่อว่า แกนกระดาษทิชชูหรรษา

วัสดุ/อุปกรณ์ (equipment)
-แกนกระดาษทิชชู            - กาว
- กระดาษ                          - เชือก
- กรรไกร                           - สี

ขั้นตอนการทำ (step)







- ตัดแกนกระดาษทิชชูออกครึ่งหนึ่ง
- นำที่เจาะกระดาษมาเจาะแกนกระดาษทิชชูทั้ง สองด้าน
- ตัดไหมพหรมยาว 1
- วาดวงกลมเท่าแกนทิชชู จากนั้นวาดรูปและตกแต่งให้สวยงาม
- นำรูปมาติดกาวตกแต่งแกนทิชชู
- ใช้เชือกไหมพรหมร้อยตรงที่เจาะรูไว้และมัด

วิธีการเล่น (the way plays)

-นำเชือกไหมพรหมมาคล้องคอ 
-มือทั้งสองข้างจับเชือกตรงปลายไว้
- สลับมือซ้ายขวา ขึ้นไปมา
ความรู้ที่ได้รับ (the knowledge that receive)

     ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้

     การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
   1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
   2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
   3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น
   ทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้
พลังงานศักย์จะสะสมอยู่ในวัตถุที่พร้อมจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ขณะที่พลังงานจลน์เป็นพลังงานที่อยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และตามกฏการอนุรักษ์พลังงานค่าของพลังงานกลจะคงที่
   ดังนั้น พลังงานกล = พลังงานศักย์ + พลังงานจลน์ เสมอ
เมื่อพลังงานในระบบ (พลังงานกล) คงที่ แล้วพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น พลังงานจลน์จะลดลง แต่ถ้า พลังงานศักย์ลดลง พลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น
*** พอทำเชือกองศามากขึ้นวัตถุจะวิ่งขึ้น
บทความวิทยาศาสตร์( science article)
บทความที่ 1 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์ เรื่อง เป็ดกับไก่
           เริ่มจากการเล่านิทานก่อนแล้วเริ่มถามคำถาม นิทานหนูไก่คนเก่ง  สอนเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำงานเสร็จตามเวลา สอนเป็นขั้นตอน ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
บทความที่ 2  จุดประกายเด็กนอกกรอบ
         ประดิษฐ์ของเล่นให้กับเด็ก เด็กสามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเองทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
บทความที่  3 ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
        เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นนั้นถือว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคนใกล้ชิดความส่งเสริมเขาให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
บทความที่ 4 สอนเรื่องปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
        ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้ง นั้นคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ พ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กคิด เพื่อให้เด็กเชื่อมโยงความรู้
                ความเปลี่ยนแปลง > ความแตกต่าง > การปรับตัว  >  การพึงพาอาศัยกัน
บทความที่ 5 สอนลูกเรื่องอากาศ
      จัดกิจกรรมเรื่องอากาศให้เด็กได้เรียนรู้ อากาศเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ร้อน หนาว อุ่น สบาย มีอิธิพลต่อสิ่งแวดล้อม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  จะนำสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นเองนำไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นได้ นำความของบทความมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
การประเมิน
ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ไม่ค่อยพูดคุยกันเพราะนั่งเรียงตามเลขที่ทำให้ไม่ได้นั่งใกล้คนสนิทก็จะทำให้ลดเสียงพูดลงขึ้น
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนมากและแต่งตัวเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ วันนี้อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนดีและเข้าใจง่าย

Recent Posts 6


 บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   25 กันยายน  2557

        ก่อนเข้าสู่บทเรียน(Prior Learning)

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากกระดาษ สิ่งประดิษฐ์นี้มีื่ชื่อเรียกว่า       " ลูกยางกระดาษ" มีลักษณะคล้ายลูกยางนา

                                        ลูกยางนา (The rubber)


ลูกยางกระดาษ
วัสดุ/อุปกรณ์ (equipment)
-  กระดาษ
คลิปติดกระดาษ
กรรไกร
วิธีทำ (the way does)
ตัดกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า                           
พับครึ่งกระดาษลง
ตัดตรงกลางกระดาษถึงตรงพับครึ่ง
ตัดเสร็จก็พับที่ตัดออกไปคนละทาง ส่วนตรงที่ไม่ได้ตัดพับครึ่งเล็กน้อยและใช้คลิปติด
    
                                                                         ผลงานที่ได้ (works) 




ข้อควรรู้ (should know)  จากการทดลองในห้องเรียน.........
กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตัดใบพัดถึงตรงกลาง  


จากการสังเกต/ทดลอง จากการทดลองของกลุ่มที่ 1 และ 2 ตัดใบพัดยาวทำให้มีแรงกดดันจากอากาศทำให้ลูกยางกระดาษของกลุ่มที่ 1 และ 2 ตกถึงพื้นช้ากว่า กลุ่มที่ 3,4 และ 5

กลุ่มที่ 3, 4 และ 5 ตัดใบพัดของลูกยางกระดาษสั้น


จากการสังเกต/ทดลอง  จากการทดลองของกลุ่มที่ 3,4 และ 5 ตัดใบพัดสั้นกว่ากลุ่มที่ 1 และ 2 ตัดสั้นก่าครึ่งหนึ่งทำให้โยใบพัดขึ้นแล้วพัดหมุนค่อยดี และตกถึงพื้นเร็วเพราะลูกยางกระดาษไม่ค่อยมีแรงดันจากอากาศ

บทความ (article)

บทความที่ 1 แสงสีกับชีวิตประจำวัน
           แม่สีมีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง , สีน้ำเงิน และสีเขียว แม่สีนี้มาจากดวงอาทิตย์ แม่สี  3  สีนี้จะมีปริมาณเท่าๆกัน
บทความที่ 2  เงามหัสจรรย์ต่อสมอง
         เงา คือ เงามาจากที่มีวัตถุบางอย่างมาบังแสงทำให้เกิดเป็นเงา เงามาจากที่มืด เงาสามารถจัดกิจกรรมที่หลากหลายและให้เหมาะสมแต่ละบุคคล ทำให้แต่ละบุคคลนั้น เกิดการเรียนรุ้เหมาะกับสิ่งที่เขาทำได้
เงาสามารถบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ได้ เช่น รูปทรง , จำนวน , การวัด (ตามเวลา), ขนาด , ทิศทาง , มิติสัมพันธ์ 
บทความที่ 3 สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
         จัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยจากสิ่งรอบตัวเด็ก  สร้างนิสัยปลูกฝังการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทรัพยากรอยู่กับเราได้นาน
บทความที่ 4 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
            เป้าหมาย ให้เด็กได้สืบเสาะหาความรู้ ลงมือกระทำคือการเรียนรู้ของเขาเอง วิทยาศาสตร์สำหรับเขา คือ การสืบเสาะหาข้อเท็จจริง
บทความที่ 5 การทดลองวิทยาศาสตร์
      การทดลองทางวิทยาศาสตร์ คือ การตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กจากการเล่นทักษะทางวิทยาศาสตร์ (Basic science skill )
วันนี้เขียนแผนการสอน 10 กลุ่ม
- ข้าว(Rice)                 - มะพร้าว (coconut)
- ไก่ (chicken)            - ผลไม้ (fruit)
- ต้นไม้ (tree)           - กล้วย (banana)
- น้ำ (water)             - นม (milk)
- ปลา (fish)                - กบ (frog)
กลุ่มดิฉันทำเรื่อง นม (milk)



ความรู้เพิ่มเติม (the knowledge adds)
เรื่องอากาศ


        ความหมายของอากาศอากาศ (Air) คือ ของผสมที่เกิดจากก๊าซหลายชนิด อากาศบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ส่วนผสมสำคัญโดยปริมาตร ได้แก่ ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78.09 ออกซิเจน ร้อยละ 20.94 ก๊าซเฉื่อย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซอาร์กอน ร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ0.03 และส่วนผสมของก๊าซฮีเลียม ไฮโดรเจน นีออน  คริปตอน ซีนอน โอโซน มีเทน ไอน้ำและสิ่งอื่นรวมกันร้อยละ 0.01บรรยากาศ (Atmosphere) คือ มวลก๊าซที่ห่อหุ้มตั้งแต่ผิวโลกจนสูงขึ้นไปประมาณ900 กิโลเมตร โดยจะเกิดร่วมกับลักษณะทางกายภาพอื่น ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม และอนุภาคฝุ่นผงหรือมลสาร (Pollutant) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำและคงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บรรยากาศที่สูงขึ้นประมาณ 80 กิโลเมตรจะมีส่วนผสมของก๊าซคล้ายคลึงกัน คนในสถานที่ต่างๆจึงหายใจเอาอากาศเข้าไปโดยไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใด

ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ 

1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ  ทำให้เกิดลมและฝน3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน

การนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
   สิ่งที่รู้คือการสังเกตจากปัญหาที่พบ เล่นอย่างสร้างสรรค์และเป็นอิสระได้คิดสนุกสนาน นำไปพัฒนา ตกแต่งใบพัดให้เกิดสีสันสวยงาม และเรื่องแรงโน้มถ่วง ทุกสิ่งที่โยนขึ้นอากาศสิ่งนั้นจะตกถึงพื้นเสมอเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ แรงต้านทานอากาศ แรงเหวี่ยงทำให้เกิดการหมุนถ้าตัดพัดสั้นก็จะไม่มีแรงต้านทานอากาศทำให้ลูกยางกระดาษตกถึงพื้นเร็วกว่าลูกยางกระดาษที่ตัดใบพัดยาวกว่า และสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่สอนกับเด็กปฐมวัยควรเป็นสิ่งที่ทำไม่ยากเด็กสามารถทำได้ ก็จะทำให้เขาเกิดคามภาคภูมิใจ
การประเมิน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังและตอคำถามของอาจารย์ และตั้งใจทำกิจกรรมเสร็จตรงตามเวลา
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนอย่างดี มีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุปทำให้เรียนเข้าใจง่าย