วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 5


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   18 กันยายน  2557

      ก่อนเข้าสู่บทเรียน

 - วันนี้อาจารย์นำกล้องวิทยาศาสตร์ ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ คือแกนกระดาษทิชชู นำมาประดิษฐ์กล้องและสอดแทรกเรื่องแสงและนำมาบรูณาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) "
- ฟังเพลงเด็กและตอบคำถาม
- นำเสนอทความ
1. บทความที่ 1 เด็กๆ อนุบาลสนุกสเต็มศึกษาผ่านโครงงานปฐมวัย
2. บทความที่ 2 โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
3. บทความที่ 3 บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
- กิจกรรมต่อมาให้ประดิษฐ์ของที่มีความสัมพันธ์กัน
วัสดุอุปกรณ์ (Material)
1. กระดาษแข็ง (Cardboard)
2.ไม้เสียบลูกชิ้น (Meatball skewers)
3.กาวสองหน้า (Tape)
4. กรรไกร (Scissors)
5.สี (color)
วิธีการทำ (How do)
- นำกระดาษมาพับเป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน





- พับกระดาษแล้วตัดตามรอยพับจะได้กระดาษมาเศษ 1 ส่วน 4
- นำกระดาษาพับครึ่งเท่าๆกัน
- จากนั้นวาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเ่ช่น ดิฉันวาดรูปแมว และอีกด้านที่เหลือก็วาดเป็นหนู โดยให้ทั้งสองอยู่ในขนาดที่พอดีกัน
- ระบายสีตกแต่งให้สวยงาม 
- นำไม้เสียบลูกชิ้นมาวางตรงกลางและติดด้วยเทปกาว และปิดมุมต่างๆให้ติดกันด้วยเทปกาว
ผลงานที่ได้ (The works were)














วิธีเล่น(How to Play)
-จับไม้ลูกชิ้นในลักษณะพนมมือ
- หมุนไม้ไปมาช้าๆ จะเห็นได้ว่าทั้งสองภาพเกิดความสัมพันธ์กัน
สิ่งที่ได้รับจากการประดิษฐ์ผลงานชิ้นนี้
วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก เพียงแต่เราไม่เน้นสอนเด็กในเนื้อหา แต่เราจะสอนในสิ่งที่เป็นธรรมาติ และประสบการณ์ความรู็้้้้้้้้้้้้้้้้้้้่้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้เดิมด้วยประสาทสัมพัธทั้งห้า จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
ผลงานประดิษฐ์ิ้ชิ้นนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง ประหยัดค่าใช้จ่าย และหาวัสดุได้ง่าย ผลงานชิ้นนี้ประดิษฐ์ไม่ยากนักเด็กๆก็สามารถทำได้

สรุปองค์ความรู้ของแสง
>> จากการชมวิดีโอ ..... ความลับของแสง
ความลับของแสง ......

แสง คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกจากอะตอม มันเป็นกลุ่มก้อนของพลังงานที่มีโมเมนตัมแต่ไม่มีมวล อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า โฟตอน

การสะท้อนของแสง 

เมื่ิอมีลำแสงตกกระทบผิววัตถุจะทำให้ปรากฎการณ์สะท้อนของแสงเป็นไปตามกฎการสะท้อน  

   1.รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉาก จะอยู่ในระนาบเดียวกันรังสีตกกระทบ หมายถึงสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิวของวัตถุ รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุเส้นแนวฉากคือเส้นทางตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ

  2.มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

มุมตกกระทบ คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวมุมฉาก (มุม  I)

มุมสะท้อน คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นแนวฉาก (มุม R)

ประเภทของแสง 

- แสงธรรมชาติ (natural light)
- แสงเทียม (artificial light)
- แสงสว่างจากสภาพจริง (Light of actual conditions)










การนำประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้เรื่องแสงมาประดิษฐ์เป็นสื่อการสอนได้ อย่างเช่น "กล้องหรรษา"ที่อาจารย์นำมาให้ศึกษาและสามารถนำมาประยุกต์ในการประดิษฐ์สื่อการสอนอย่างอื่นได้ด้วย ....
การวัดผล/ประเมินผล
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและปฏิตามคำสั่งอย่างรวดเร็ว ผลงานของเพื่อนวันนี้สวยทุกคนและสามารถต่อยอดความรู้
ประเมินตนเอง วันนี้ได้ความรู้ต่างๆมากมายจากทั้งที่ครูบรรยาย และซักถามคำตอบ และยังได้ประดิษฐ์ที่น่ารัก สามารถนำไปสอนหรือไปใช้ในอนาคต
ประเมินอาจารย์ วันนี้อาจารย์เข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อ และเปิดเพลงเด็กให้ฟัง ซักถามและตอบคำถามนักศึกษาอย่างละเอียด



วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 4



บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   11 กันยายน  2557



      ... พฤหัสของสัปดาห์ วันนี้ดิฉันเป็นคนแรกที่ออกไปเล่าบทความ บทความของดิฉันชื่อเรื่องว่า "หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย (Preschool Science) "  วันนี้ได้รับคำชมและติชมของการนำเสนอวันนี้ดิฉันจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงในการนำเสนอครั้งต่อไป ....

นอกจากนี้ .. ยังมีบทความของเพื่อนด้วย

บทความที่ 1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
บทความที่ 2. 5 แนวทางการสอนเติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
บทความที่ 3. อพวช. ผนึกพันธมิตรจัดงาน "วันนักวิทยาศาสตร์น้อย" หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
บทความที่ 4. สอนลูกเรื่อง ภาวะโลกร้อน(Warming) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาวะโลกร้อน

** อพวช. ย่อมาจาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 วันนี้เรียนเรื่อง "ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย "
      วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรูทางวิทยาศาสตร์ที่ ประกอด้ยวิธีการทักษะกระวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์(The basic idea of scientific)

1. การเปลี่ยนแปลง

2. ความแตกต่าง > มีระดับความแตกต่าง

3. การปรับตัว

4. การพึงพาอาศัยกัน

5. ความสมดุล


การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์(The scientific method)


- ขั้นกำหนดปัญหา
- ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นรวบรมข้อมูล
- ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์(Scientific Attitude)

- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- ความมีเหตุมีผล

ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์(A significant benefit of the Blind Science)

- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน

การนำไปประยุกต์ใช้

   ได้รับความรู้จากบทความของเพื่อนและยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กัการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และจะนำทักษะวิทยาศาสตร์นำไปสอนเพื่อไปพัฒนาเด็กปฐมวัยในอนาคต

การประเมิลผล

ประเมินตนเอง  นำเสนองานวันนี้ควรที่จะพูดกึ่นนำก่อน เ่ช่น กล่าวสวัสดีครูและเพื่อน และบอกชื่อ      ตนเอง และดำเนินเนื้อหาในการพูด

ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังการนำเสมอมากขึ้น และ่ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

ประเมินอาจารย์   อาจรย์เตรียมเนื้อหามาสอนอย่างดี กระชับและเข้าใจง่ายขึ้น และยังยกตัวอย่างที่เข้าใจง่าย















วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 3


                                         บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ( EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   4 กันยายน  2557


   รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

               การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อดำรงชิวิต
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การลงมือกระทำซึ่งเรียกว่าการเล่นแบบไม่เป้นทางการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เครื่องมือที่เด็กใช้ในการเล่นคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ลงมือกระทำกับวัตถุอยากเป็นทางการและไม่เป็นทาการ


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้ 

เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·        ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·        วาดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·        เล่นสมมติได้
·        รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·        ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
·        แบ่งของให้คนอื่น
·        เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·        เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·        ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·        ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
·        รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·        รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

> พอใจคนที่ตามใจ

>  มีช่วงความสนใจสั้น (8 - 10 )
> สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
> อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
> แสดงท่าทงเลียนแบบ
> ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
> ชอบถาม  ทำไม  ตลอดเวลา
>ช่วยตนเองได้
> ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
> พูดประโยคยาวขึ้น

สรุปหลักการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

> พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ
> การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติจริง
> เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
>พัฒนาทักษะการสังเกตุ

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 2

                         บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   28 สิงหาคม  2557





หมายเหตุ   วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไปดำเนินเรื่อง กยศ.

  • ความรู้ที่ได้รับ
 เด็กปฐมวัย 
1.พฤติกรรม = พัฒนาการ
2.การเรียนรู้ หรือ การเล่น
3.การอบรมเลี้ยงดู 
สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้                                       
  ความคิด ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
การใช้ภาษา
พัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษาสามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
  พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
·   การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง การรับรู้ การซึมซับ
·   การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
·   การรับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
 วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใมจกับสิ่งรอบตัว ความพยายามติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด้กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นสรุป วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก
  • จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
  • ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก
  • ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก

งานที่ได้รับมอหมาย

บทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           
บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสาร สสวท. กับวิชาการดอทคอม
ที่มา : นิตยสาร สสวท.
www.ipst.ac.th

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 
          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546  และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 
          อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต  หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้างและจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู     พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
          สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศ เช่น หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา   หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล   อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัย แพทย์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.  มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 
          เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น    ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”
          ขณะนี้  สสวท. ได้ทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรผ่านทุกกระบวนการที่สำคัญหมดแล้ว ก็คือผ่าน การประชาพิจารณ์ การนำไปทดลองใช้ การปรับแล้วนำไปทดลอง และวิจัยผลการใช้  ในส่วนของการทดลองใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย    สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ   ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง  จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน  และทดลองใช้ในปี 2551