วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Recent Posts 7


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี   2 ตุลาคม  2557



ความรู้ที่ได้รับ (the knowledge that receive)

          วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์มาทำสื่อการสอนของวิชาวิทยาศาสตร์
สื่อวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ดิฉันตั้งชื่อว่า แกนกระดาษทิชชูหรรษา

วัสดุ/อุปกรณ์ (equipment)
-แกนกระดาษทิชชู            - กาว
- กระดาษ                          - เชือก
- กรรไกร                           - สี

ขั้นตอนการทำ (step)







- ตัดแกนกระดาษทิชชูออกครึ่งหนึ่ง
- นำที่เจาะกระดาษมาเจาะแกนกระดาษทิชชูทั้ง สองด้าน
- ตัดไหมพหรมยาว 1
- วาดวงกลมเท่าแกนทิชชู จากนั้นวาดรูปและตกแต่งให้สวยงาม
- นำรูปมาติดกาวตกแต่งแกนทิชชู
- ใช้เชือกไหมพรหมร้อยตรงที่เจาะรูไว้และมัด

วิธีการเล่น (the way plays)

-นำเชือกไหมพรหมมาคล้องคอ 
-มือทั้งสองข้างจับเชือกตรงปลายไว้
- สลับมือซ้ายขวา ขึ้นไปมา
ความรู้ที่ได้รับ (the knowledge that receive)

     ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์ พลังงงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุ ก็ได้

     การจำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน
   1. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
   2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
   3. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวสัดุ หรือ สิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังดังกล่าว จะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือสิ่งของนั้นๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน เป็นต้น
   ทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไป กลับมาได้
พลังงานศักย์จะสะสมอยู่ในวัตถุที่พร้อมจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ขณะที่พลังงานจลน์เป็นพลังงานที่อยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และตามกฏการอนุรักษ์พลังงานค่าของพลังงานกลจะคงที่
   ดังนั้น พลังงานกล = พลังงานศักย์ + พลังงานจลน์ เสมอ
เมื่อพลังงานในระบบ (พลังงานกล) คงที่ แล้วพลังงานศักย์เพิ่มขึ้น พลังงานจลน์จะลดลง แต่ถ้า พลังงานศักย์ลดลง พลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น
*** พอทำเชือกองศามากขึ้นวัตถุจะวิ่งขึ้น
บทความวิทยาศาสตร์( science article)
บทความที่ 1 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์ เรื่อง เป็ดกับไก่
           เริ่มจากการเล่านิทานก่อนแล้วเริ่มถามคำถาม นิทานหนูไก่คนเก่ง  สอนเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำงานเสร็จตามเวลา สอนเป็นขั้นตอน ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
บทความที่ 2  จุดประกายเด็กนอกกรอบ
         ประดิษฐ์ของเล่นให้กับเด็ก เด็กสามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเองทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
บทความที่  3 ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
        เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นนั้นถือว่าเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคนใกล้ชิดความส่งเสริมเขาให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
บทความที่ 4 สอนเรื่องปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
        ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้ง นั้นคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ พ่อแม่ควรกระตุ้นให้เด็กคิด เพื่อให้เด็กเชื่อมโยงความรู้
                ความเปลี่ยนแปลง > ความแตกต่าง > การปรับตัว  >  การพึงพาอาศัยกัน
บทความที่ 5 สอนลูกเรื่องอากาศ
      จัดกิจกรรมเรื่องอากาศให้เด็กได้เรียนรู้ อากาศเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ร้อน หนาว อุ่น สบาย มีอิธิพลต่อสิ่งแวดล้อม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  จะนำสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นเองนำไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นได้ นำความของบทความมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
การประเมิน
ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ไม่ค่อยพูดคุยกันเพราะนั่งเรียงตามเลขที่ทำให้ไม่ได้นั่งใกล้คนสนิทก็จะทำให้ลดเสียงพูดลงขึ้น
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนมากและแต่งตัวเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ วันนี้อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนดีและเข้าใจง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น