วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recent Posts 12



บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
(EAED3207 )
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน / เดือน / ปี  6  พฤศจิกายน  2557


** วันนี้นำเสนอแผนการเรียนการสอนโดยมีกลุ่มดังต่อไปนี้**


                 1.กล้วย (banana)
                 2.ไก่ (chicken)
                 3. กบ(frog)
                 4.ปลา (fish)
                 5.ข้าว (rice)
                 6.ต้นไม้ (tree)
                 7.นม  (mile)
                 8.น้ำ (water)
                 9.มะพร้าว ( Coconut)
                 10.ผลไม้ (fruit)

 กลุ่มดิฉันนำเสนอแผน"นม"

ความรู้ที่ได้รับ

วันที่ 1 สอนเรื่อง ชนิดของนม
วันที่ 2 สอนเรื่อง  ลักษณะของนม (เรื่องที่สอน)
วันที่ 3 สอนเรื่อง  ประโยชน์ของนม
วันที่ 4 สอนเรื่อง  ที่มาของนม
วันที่ 5 สอนเรื่อง  การแปรรูปของนม

สอนเรื่องลักษณะของ "นม"

วิธีดำเนินการ..

ขั้นนำ Introduction

  - ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"
  - ครูและเด็กเต้นเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"

ขั้นสอน Step instruction

   - ครูนำนมหลายชนิดมาให้เด็กดู มีนมจืด นมเปรี้ยว นมช็อกโกแลต นมสตอเบอรี่
   - ให้เด็กๆสังเกตลักษณะนมแต่ละชนิด และให้เด็กบอกคามแตกต่างของนมแต่ละชนิด
   - เข้าสู่กิจกรรม  "มหรรษจรรย์นมเปลี่ยนสี"
   - ครูสาธิตการทดลองให้เด็กดู โดยนำนมจืดเทใส่ภาชนะ จากนั้นนำสีผสมอาหารมาหยดลงนมที่เทไว้
     ครูขอความช่วยเหลือจากเด็กๆ โดยขออาสาสมัครมาหยดน้ำยาล้างจาน ตรงที่หยดสีไว้  จากนั้นครู       และเด็กร่วมกันสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนม
ขั้นสรุป conclusion

  ครูถามคำถามจากเด็กและทวนความรู้ของเด็กถึงลักษณะของนม


 การทดลอง ชื่อกิจกรรม  มหรรษจรรย์นมเปลี่ยนสี ....

วััสดุอุปกรณ์

1.นม
2.สีผสมอาหาร
3.จานพลาสติก
4.น้ำยาล้างจาน

วิธีทดลอง

1.นำนมจืดเทใส่ภาชนะ จากนั้นนำสีผสมอาหารมาหยดลงนมที่เทไว้
2. ครูขอความช่วยเหลือจากเด็กๆ โดยขออาสาสมัครมาหยดน้ำยาล้างจาน ตรงที่หยดสีไว้
3.  จากนั้นครู และเด็กร่วมกันสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนม

สรุปผลการทดลอง

   นม(milk)

  โดยปกติแล้วนมก็เป็นของเหลเหมือนกับน้ำ  เพียงแต่ว่าในนมจะมีเกลือแร่ วิตามิน โปรตีน แล้วก็หยดไขมันที่กระจายตัวอยู่เต็มไปหมด  แล้วน้ำล้างจานนี่เอง ก็ไปทำให้โมเลกุลไขมันถูกทำลายส่งผลให้โครงสร้าง แรงยึดเหนี่ยวบริเวณใกล้เคียงถูกทำลายส่งผลให้โครงสร้างแรงยึดเหนี่ยวบริเวณใกล้เคียงถูกทำลายด้วยหยดสีจึงเคลื่อนที่ออกจากกันนั้นเอง





การประเมินหลังการเรียนการสอน

ประเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมของตนเอง และตั้งใจฟังกิจกรรมของกลุ่มอื่นด้วย

ประเมินตนเอง  วันนี้ออกไปนำเสนอรู้สึกตื่นเต้น และตั้งใจฟัง ตั้งใจดู กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มอื่น

ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้เสนอแนะดี สามารถนำมาประยุกต์ใ้ได้จริงในกิจกรรมต่าง ๆ



1 ความคิดเห็น:

  1. ควรเขียนรายละเอียดในรูปแบบต่างๆอาจสรุปเป้นMind Map หากมีแต่หัวข้อไม่ได้สะท้อนว่าเรียนแล้วรู้อะไรบ้าง ทดลองเรื่องนมขาดบันทึกขั้นตอนนะคะ

    ตอบลบ