ก่อนเข้าสู่บทเรียน(Prior Learning)
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากกระดาษ สิ่งประดิษฐ์นี้มีื่ชื่อเรียกว่า " ลูกยางกระดาษ" มีลักษณะคล้ายลูกยางนา
ลูกยางนา (The rubber)
ลูกยางกระดาษ
วัสดุ/อุปกรณ์
(equipment)
- กระดาษ
- คลิปติดกระดาษ
- กรรไกร
วิธีทำ (the way does)
- ตัดกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
- พับครึ่งกระดาษลง
- ตัดตรงกลางกระดาษถึงตรงพับครึ่ง
- ตัดเสร็จก็พับที่ตัดออกไปคนละทาง
ส่วนตรงที่ไม่ได้ตัดพับครึ่งเล็กน้อยและใช้คลิปติด
ผลงานที่ได้ (works)
ข้อควรรู้ (should know) จากการทดลองในห้องเรียน.........
กลุ่มที่
1 และกลุ่มที่ 2
ตัดใบพัดถึงตรงกลาง
จากการสังเกต/ทดลอง จากการทดลองของกลุ่มที่ 1 และ 2 ตัดใบพัดยาวทำให้มีแรงกดดันจากอากาศทำให้ลูกยางกระดาษของกลุ่มที่
1 และ 2 ตกถึงพื้นช้ากว่า กลุ่มที่ 3,4
และ 5
กลุ่มที่ 3, 4 และ 5 ตัดใบพัดของลูกยางกระดาษสั้น
จากการสังเกต/ทดลอง จากการทดลองของกลุ่มที่ 3,4 และ 5 ตัดใบพัดสั้นกว่ากลุ่มที่
1 และ 2 ตัดสั้นก่าครึ่งหนึ่งทำให้โยใบพัดขึ้นแล้วพัดหมุนค่อยดี
และตกถึงพื้นเร็วเพราะลูกยางกระดาษไม่ค่อยมีแรงดันจากอากาศ
บทความ (article)
บทความที่ 1 แสงสีกับชีวิตประจำวัน
แม่สีมีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง , สีน้ำเงิน
และสีเขียว แม่สีนี้มาจากดวงอาทิตย์ แม่สี
3 สีนี้จะมีปริมาณเท่าๆกัน
บทความที่ 2 เงามหัสจรรย์ต่อสมอง
เงา คือ
เงามาจากที่มีวัตถุบางอย่างมาบังแสงทำให้เกิดเป็นเงา เงามาจากที่มืด
เงาสามารถจัดกิจกรรมที่หลากหลายและให้เหมาะสมแต่ละบุคคล ทำให้แต่ละบุคคลนั้น
เกิดการเรียนรุ้เหมาะกับสิ่งที่เขาทำได้
เงาสามารถบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ได้
เช่น รูปทรง , จำนวน , การวัด (ตามเวลา), ขนาด ,
ทิศทาง , มิติสัมพันธ์
บทความที่ 3 สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยจากสิ่งรอบตัวเด็ก
สร้างนิสัยปลูกฝังการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทรัพยากรอยู่กับเราได้นาน
บทความที่ 4 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
เป้าหมาย ให้เด็กได้สืบเสาะหาความรู้
ลงมือกระทำคือการเรียนรู้ของเขาเอง วิทยาศาสตร์สำหรับเขา คือ
การสืบเสาะหาข้อเท็จจริง
บทความที่ 5 การทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ คือ
การตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กจากการเล่นทักษะทางวิทยาศาสตร์ (Basic science skill )
วันนี้เขียนแผนการสอน 10 กลุ่ม
- ข้าว(Rice) - มะพร้าว (coconut)
- ไก่ (chicken) - ผลไม้ (fruit)
- ต้นไม้ (tree) - กล้วย (banana)
- น้ำ (water) - นม (milk)
- ปลา (fish) - กบ (frog)
กลุ่มดิฉันทำเรื่อง นม (milk)
ความรู้เพิ่มเติม (the knowledge adds)
ความหมายของอากาศอากาศ (Air) คือ ของผสมที่เกิดจากก๊าซหลายชนิด อากาศบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ส่วนผสมสำคัญโดยปริมาตร ได้แก่ ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78.09 ออกซิเจน ร้อยละ 20.94 ก๊าซเฉื่อย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซอาร์กอน ร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ0.03 และส่วนผสมของก๊าซฮีเลียม ไฮโดรเจน นีออน คริปตอน ซีนอน โอโซน มีเทน ไอน้ำและสิ่งอื่นรวมกันร้อยละ 0.01บรรยากาศ (Atmosphere) คือ มวลก๊าซที่ห่อหุ้มตั้งแต่ผิวโลกจนสูงขึ้นไปประมาณ900 กิโลเมตร โดยจะเกิดร่วมกับลักษณะทางกายภาพอื่น ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม และอนุภาคฝุ่นผงหรือมลสาร (Pollutant) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำและคงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บรรยากาศที่สูงขึ้นประมาณ 80 กิโลเมตรจะมีส่วนผสมของก๊าซคล้ายคลึงกัน คนในสถานที่ต่างๆจึงหายใจเอาอากาศเข้าไปโดยไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใด
ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ
1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ ทำให้เกิดลมและฝน3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
การนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
สิ่งที่รู้คือการสังเกตจากปัญหาที่พบ
เล่นอย่างสร้างสรรค์และเป็นอิสระได้คิดสนุกสนาน นำไปพัฒนา
ตกแต่งใบพัดให้เกิดสีสันสวยงาม และเรื่องแรงโน้มถ่วง
ทุกสิ่งที่โยนขึ้นอากาศสิ่งนั้นจะตกถึงพื้นเสมอเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ แรงต้านทานอากาศ
แรงเหวี่ยงทำให้เกิดการหมุนถ้าตัดพัดสั้นก็จะไม่มีแรงต้านทานอากาศทำให้ลูกยางกระดาษตกถึงพื้นเร็วกว่าลูกยางกระดาษที่ตัดใบพัดยาวกว่า
และสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่สอนกับเด็กปฐมวัยควรเป็นสิ่งที่ทำไม่ยากเด็กสามารถทำได้
ก็จะทำให้เขาเกิดคามภาคภูมิใจ
การประเมิน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังและตอคำถามของอาจารย์
และตั้งใจทำกิจกรรมเสร็จตรงตามเวลา
ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหามาสอนอย่างดี มีขั้นนำ ขั้นสอน
และขั้นสรุปทำให้เรียนเข้าใจง่าย